วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

อังกฤษ

5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ

โครงสร้างที่ 1 : Subject + Verb (ประธาน + กริยา)

คำกริยาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) มารองรับ
2. สกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ

ในโครงสร้างที่ 1 มีเพียงประธานกับอกรรมกริยา (Intransitive verb) หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) ก็เป็นประโยคที่สมบูรณ์เข้าใจได้  เช่น

She works .
(เธอทำงาน)

He gets up.
(เขาตื่นนอน)

นอกจากนี้เราสามารถขยายความประโยคได้โดยเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น

She works hard.
(เธอทำงานหนัก)
hard = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย works

He gets up early.
(เขาตื่นแต่เช้า)
early = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย gets up


โครงสร้างที่ 2 : Subject + Verb + Object (ประธาน + กริยา + กรรม)

ในโครงสร้างที่ 2 จะใช้สกรรมกริยา (Transitive Verb) หรือกริยาที่ต้องการกรรม (Object) เช่น

I read a book.
(ฉันอ่านหนังสือ)

Mark kicks the ball.
(มาร์กเตะลูกบอล)

เราสามารถขยายความประโยคได้ด้วยการเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น

Mark kicks the yellow ball.
(มาร์กเตะลูกบอลสีเหลือง)
yellow = คำคุณศัพท์ (Adjective) มาขยาย ball  

I read a book every day.
(ฉันอ่านหนังสือทุกวัน)
every day = คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) ขยาย read เพื่อบอกความถี่ในการอ่าน


โครงสร้างที่ 3 : Subject + Verb + Indirect Object + Direct Object (ประธาน + กริยา + กรรมรอง + กรรมตรง)

กรรม (Object) หลัก ๆ ในภาษาอังกฤษมี 3 ชนิด คือ
1. Direct Object (กรรมตรง) คือ กรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง เช่น ในโครงสร้างที่ 2 จะเป็นกรรมตรง
2. Indirect Object (กรรมรอง) คือ กรรมที่ได้ผลประโยชน์จากการกระทำ
3. Prepositional object (กรรมของบุพบท) คือ กรรมที่ต่อท้ายบุพบท

My mother bought me a new toy.  
(แม่ของฉันซื้อของเล่นใหม่ให้ฉัน)
new toy เป็นกรรมตรง เพราะถูกซื้อโดยตรง และ me เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการซื้อ

Jack teaches us English.
(แจ็คสอนภาษาอังกฤษพวกเรา)
English เป็นกรรมตรงที่ถูกสอน และ us เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการสอน

He gave his girlfriend flowers.
(เขาให้ดอกไม้แก่แฟนของเขา)
flowers เป็นกรรมตรงที่ถูกให้ และ his girlfriend เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการให้

และในโครงสร้างที่ 3 นี้สามารถเขียนได้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมรองจะเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นกรรมของบุพบท (Prepositional object )โดยมักจะเป็น to หรือ for เช่น

My mother bought a new toy for me.
Jack teaches English for us
He gave flowers to his girlfriend.


โครงสร้างที่ 4 : Subject + Verb + Subjective Complement (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายประธาน)

Subjective Complement หรือ ส่วนขยายประธาน คือ กลุ่มคำที่ตามหลัง Verb to be หรือ Linking Verbโดยส่วนขยายประธานเป็นได้ทั้งคำนาม (Noun) และคำคุณศัพท์ (Adjective)

My brother is a doctor.
(พี่ชายของฉันเป็นหมอ)

There is a pen.
(มีปากกาหนึ่งด้าม)

James became an engineer.
(เจมส์กลายเป็นวิศวกร)

She looks exhausted after studying all night.
(เธอดูเหน็ดเหนื่อยหลังจากอ่านหนังสือทั้งคืน)

This price sounds reasonable.
(ราคานี้ฟังดูสมเหตุสมผล)

The coffee smells bitter in the coffee shop.
(กาแฟส่งกลิ่นขมอบอวลในร้านกาแฟ)


โครงสร้างที่ 5 : Subject + verb + Object + Objective Complement

Object Complement หรือส่วนขยายกรรม เป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์

She named the dog Ken.
(เธอตั้งชื่อหมาว่าเคน)
Ken เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย dog ที่ถูกตั้งชื่อ

They made me the president.
(พวกเขาแต่งตั้งฉันเป็นประธานบริษัท)
the president เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย me ที่ถูกแต่งตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกเพื่อนของผม

เมทาวี กันเกลา  loveaom40.blogspot.com ณัฐกิตติ์ สุรินทร์  nattakitblog.blogspot.com สิรภพ ตั้งวัฒนากูล  mos33819.blogspot.com ด...