วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สังคมศึกษา

เศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต


โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้ 
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


ศาล

  1. ศาลชั้นต้น – จะถูกแบ่งออกเป็นศาลประเภทต่างๆ ดังนี้
  • ศาลแพ่ง มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งทั้งหมดและคดีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ
  • ศาลอาญา มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ศาลจังหวัด ประจำอยู่ในแต่ละจังหวัดหรือบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาคดีทั้งแพ่งและอาญาที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ กรณียื่นฟ้องคดีกับศาลจังหวัดแต่คดีเกิดขึ้นในพื้นที่ศาลแขวงและยังอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดต้องโอนหน้าที่ไปให้ศาลแขวงดังกล่าว
  • ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จะแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไป
  • ศาลแรงงานกลาง มีอำนาจในการพิจารณาคดีแรงงานที่จะแตกต่างไปจากคดีทั่วๆ ไป ส่วนมาใช้วิธีในการไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก
  1. ศาลอุทธรณ์ – เป็นศาลสูงสุดที่อยู่ถัดมาจากศาลชั้นต้นจะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับคดีที่มีการอุทธรณ์จากคำพิพากษาหรือจากอำนาจของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ รวมถึงมีอำนาจในการวินิจฉัยคดีที่ศาลอุทธรณ์มีคำอำนาจให้ทำการวินิจฉัยได้จากกฎหมายอื่นในช่วงของเขตพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค ยกเว้นคดีที่อยู่นอกเหนือจากเขตศาลอุทธรณ์จะทำการอุทธรณ์ต่อศาลก็ได้ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ในดุลยพินิจของศาลเพื่อทำการรับอุทธรณ์ในคดีต่างๆ
ศาลฎีกา – เป็นศาลชั้นสูงสุดที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อพิพากษา ตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องของการฎีกา นอกจากนี้ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจในการวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน แต่ก็มีในบางกรณีที่อาจต้องใช้มากกว่านั้นหากว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งศาลฎีกายังมีการแยกออกเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อใช้สำหรับพิจารณาคดีที่มีนักการเมืองเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ถือว่าเป็นการตัดสินที่ถูกแยกออกไปอย่างชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกเพื่อนของผม

เมทาวี กันเกลา  loveaom40.blogspot.com ณัฐกิตติ์ สุรินทร์  nattakitblog.blogspot.com สิรภพ ตั้งวัฒนากูล  mos33819.blogspot.com ด...