เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยสามารถแบ่งได้เป็นตี เป่า ดีด และสี ดังนี้
เครื่องตี สามารถจำแนกได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิต คือ
- ทำจากไม้ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม กรับ เกราะ โปงลาง ฯลฯ
- ทำจากโลหะ ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ฯลฯ
- ขึงด้วยหนังสัตว์ ได้แก่ กลองชนิดต่าง ๆ
๒. แบ่งตามหน้าที่ของการบรรเลง คือ
- เครื่องทำทำนอง ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โปงลาง
- เครื่องทำจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลองชนิดต่าง ๆ
เครื่องเป่า แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
๑. เครื่องเป่าที่มีลิ้น ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ แคน ฯลฯ
๒. เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น ได้แก่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลิบ สังข์ ฯลฯ
เครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ จะเข้ พิณเพี้ยะ (เปี้ยะ) พิณน้ำเต้า ซึง ฯลฯ
เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ ซอบั้งหรือซอกระบอก ฯลฯ
วงดนตรีไทย สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑. วงเครื่องสาย เป็นวงที่มีเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลัก
๑.๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (เครื่องสายวงเล็ก) มีเครื่องดนตรี คือ จะเข้ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ฉิ่ง โทน รำมะนา
๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี คือ จะเข้ ๒ ตัว ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ฉิ่ง โทน รำมะนา
๑.๓ วงเครื่องสายผสม มีเครื่องดนตรีเหมือนกับวงเครื่องสายวงเล็ก หรือเครื่องคู่ แต่จะนำเครื่องดนตรีอื่นมาบรรเลงร่วม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่าวงเครื่องสายผสมขิม หรือนำออร์แกนมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่าวงเครื่องสายผสมออร์แกน เป็นต้น
๒. วงปี่พาทย์ เป็นวงที่มีเครื่องเป่าและเครื่องเป็นหลัก
๒.๑ วงปี่พาทย์เครื่องห้า มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ระนาดเอกไม้ (มีในสมัยอยุธยา) ฆ้องวงใหญ่ ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด
๒.๒ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอกไม้ ระนาดทุ้มไม้ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กตะโพน กลองทัด
๒.๓ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอกไม้ ระนาดทุ้มไม้ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด
๒.๔ วงปี่พาทย์เสภา มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ระนาดเอกไม้ ระนาดทุ้มไม้ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฉิ่ง กลองสองหน้า
๒.๕ วงปี่พาทย์ไม้นวม มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้ (ตีด้วยไม้นวม) ระนาดทุ้มไม้ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ฉิ่ง กลองแขก
๒.๖ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้ (ตีด้วยไม้นวม) ระนาดทุ้มไม้ ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด ฆ้องหุ่ย (มี ๗ ใบ)
๒.๗ วงปี่พาทย์นางหงส์ มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้ ระนาดทุ้มไม้ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ชวา ฉิ่ง กลองมลายู ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
๓. วงมโหรี เป็นวงที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท
๓.๑ วงมโหรีเครื่องเดี่ยว (วงมโหรีวงเล็ก) มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี (มีขนาดเล็กกว่าระนาดเอกปี่พาทย์) ฆ้องกลาง จะเข้ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ฉิ่ง โทน รำมะนา
๓.๒ วงมโหรีเครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี ระนาดทุ้มไม้มโหรี ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก จะเข้ ๒ ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลิบ ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ฉิ่ง โทน รำมะนา
๓.๓ วงมโหรีเครื่องใหญ่ มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี ระนาดทุ้มไม้มโหรี ระนาดเอกเหล็กมโหรี ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก จะเข้ ๒ ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลิบ ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ฉิ่ง โทน รำมะนา
จังหวะ แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. จังหวะสามัญ ใช้ชีพจรกำหนด ใช้เท้าเคาะหรือมือเคาะเอา
๒. จังหวะฉิ่ง ใช้ฉิ่งตีกำกับ บางเพลงก็ตีเสียง ฉิ่ง-ฉับ บางเพลงก็ตี ฉิ่ง ฉิ่ง ฉับ บางเพลงก็ตี
ฉิ่ง ฉิ่ง ฉิ่ง หรือ ฉับ ฉับ ฉับ ไปเรื่อย ๆ ต้องสังเกตและจดจำเอา
๓. จังหวะหน้าทับ ซึ่งจะใช้เครื่องหนัง (โทน, ทับ, ตะโพน, กลองแขก ฯลฯ) เข้ามาตีประกอบจังหวะฉิ่ง (ฉาบ กรับ โหม่ง) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หน้าทับสองไม้ หน้าทับปรบไก่ และหน้าทับพิเศษ เพลงใดจะใช้หน้าทับใดคีตกวีจะเป็นผู้พิจารณากำห
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น