ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายมีลักษณะที่สำคัญ 3 รูปแบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (fundamental movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่จำเป็นสำหรับชีวิตและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
2. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (daily movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ ทั่วไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิต
3. การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง (special movement) เป็นการผสมผสานทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
การเคลื่อนไหวร่างกายมีลักษณะที่สำคัญ 3 รูปแบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (fundamental movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่จำเป็นสำหรับชีวิตและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
2. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (daily movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ ทั่วไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิต
3. การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง (special movement) เป็นการผสมผสานทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวร่างกาย
1. ปัจจัยในด้านตัวบุคคล หมายถึง องค์ประกอบเฉพาะบุคคลที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โครงสร้างร่างกาย ทักษะในการเคลื่อนไหว รวมถึงปัจจัยทางจิตใจและสายตา
2. ปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่ ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว และสภาพอุณหภูมิของอากาศในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
1. ปัจจัยในด้านตัวบุคคล หมายถึง องค์ประกอบเฉพาะบุคคลที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โครงสร้างร่างกาย ทักษะในการเคลื่อนไหว รวมถึงปัจจัยทางจิตใจและสายตา
2. ปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่ ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว และสภาพอุณหภูมิของอากาศในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
รูปแบบและแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน
ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ (nonlocomotor movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ผู้ปฏิบัติมีการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ เช่น การก้มตัว การเหยียดตัว การผลัก การดัน การบิดตัว แต่ร่างกายไม่มีการเคลื่อนที่
2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (locomotor movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ใช้การเคลื่อนร่างกายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง การสไลด์ (slide)
3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ (manipulative movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ผู้ปฏิบัติมีการบังคับหรือควบคุมวัตถุโดยใช้อวัยวะที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการใช้มือและเท้า เช่น การขว้าง การตี การเตะ การรับ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (exercise for health) คือการเคลื่อนไหวหรือการกระตุ้นให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากกว่าภาวะปกติอย่างเป็นระบบ ตามความเหมาะสมของเพศ วัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
รูปแบบของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
1. การออกกำลังกายแบบการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่เคลื่อนไหวอวัยวะ (isometric exercise) เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2. การออกกำลังกายแบบต้านน้ำหนัก (isotonic exercise) โดยการเกร็งกล้ามเนื้อ พร้อมกับเคลื่อนไหวข้อต่อแขนหรือขาด้วย
3. การออกกำลังกายแบบต้านความเร็วคงที่ (isokinetic exercise) โดยใช้เครื่องมือการออกกำลังกายที่ปรับความเร็วและแรงต้าน
4. การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic exercise) โดยที่ร่างกายไม่ได้นำออกซิเจนมาใช้ในการสันดาปพลังงาน แต่จะใช้พลังงานสำรองที่อยู่ในกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
5. การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนหรือแบบแอโรบิก (aerobic exercise) โดยกระทำกิจกรรมติดต่อกันเป็นเวลานาน จนพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานจากกระบวนการสันดาปออกซิเจนเพิ่มมากกว่าปกติ จนสามารถกระตุ้นให้ปอดและหัวใจทำงาน
หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ยึดหลัก “4 พ” คือ บ่อยพอ หนักพอ นานพอ และพอใจ
กิจกรรมนันทนาการ คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติด้วยความสมัครใจในเวลาว่าง โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และได้ความเพลิดเพลิน อาจปฏิบัติคนเดียวหรือปฏิบัติเป็นหมู่คณะ
กีฬาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย มีกติกาการเล่นที่ดัดแปลงมาจากกติกาของกีฬาแบดมินตันและวอลเลย์บอลผสมผสานกัน แต่จะใช้ศีรษะ ข้อศอก ไหล่ และเท้าในการเล่นตอบโต้กันไปมาระหว่างผู้เล่น 2 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะประกอบด้วยผู้เล่นทีมละ 3 คน โดยพยายามเล่นลูกตะกร้อไม่เกิน 3 ครั้ง ให้ข้ามตาข่ายตกลงบนพื้นสนามในแดนของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ลูกตะกร้อตกลงบนพื้นสนามในแดนของตนเอง
กีฬาเทเบิลเทนนิส จัดเป็นกีฬาประเภทบุคคล มีทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะยืนทางด้านหัวโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เริ่มเล่นโดยผลัดกันส่งลูกด้วยการตีลูกให้ตกลงพื้นโต๊ะในแดนของตนเอง ก่อนที่ลูกจะข้ามตาข่ายซึ่งขึงแบ่งครึ่งโต๊ะให้ไปตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม แล้วฝ่ายตรงข้ามจึงตีลูกข้ามตาข่ายย้อนกลับมา สลับกันตีลูกข้ามตาข่ายกันไปมา จนกว่าจะมีฝ่ายหนึ่งทำลูกเสีย คือไม่สามารถตีลูกให้เป็นไปตามกฎกติกาที่กำหนดได้ ฝ่ายที่ไม่ได้ทำให้ลูกเสียจะได้คะแนน 1 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนถึง 11 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
คำสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย การเคลื่อนไหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง ฐานรองรับ การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ แอโรบิก การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ชีพจร หลัก “4 พ” กิจกรรมนันทนาการ กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย กีฬาเทเบิลเทนนิส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น