วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิทยาศาสตร์

1. การนำความร้อน (Conduction)

หากเราเทน้ำร้อนใส่แก้วที่ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ แล้วนำไปวางไว้ในแก้วอีกใบที่ใหญ่กว่าซึ่งมีน้ำเย็นอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่  น้ำในแก้วทั้งสองจะมีอุณหภูมิเท่ากัน หรือขณะที่เราต้มน้ำในกา หากมือของเราบังเอิญไปสัมผัสกับกาต้มน้ำ จะทำให้เรารู้สึกถึงความร้อนจากกา ซึ่งความร้อนนั้นก็อาจทำให้ผิวหนังของเราไหม้พองได้อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นการถ่ายโอนความร้อนในรูปแบบของการนำความร้อน

การนำความร้อนเกิดขึ้นโดยมีวัตถุที่เป็นของแข็งเป็นตัวกลาง จากการสั่นของอนุภาคที่เรียงตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นในวัตถุที่เป็นของแข็งนั้น และส่งพลังงานอย่างต่อเนื่องกันไป โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือสสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีเพียงพลังงานเท่านั้นที่ถูกถ่ายโอนไป เช่น จากน้ำร้อนไปสู่น้ำเย็นหรือจากกาต้มน้ำสู่มือของเรา

วัตถุที่นำความร้อนได้ดี เราเรียกว่า "ตัวนำความร้อน (Conductor)" ได้แก่ โลหะ เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ส่วนวัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีเราเรียกว่า "ฉนวนความร้อน (Insulators)" ได้แก่ อโลหะและก๊าซ เช่น ไม้ พลาสติก อากาศ ซึ่งความรู้ในเรื่องนี้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสร้างบ้านเพื่อระบายความร้อนได้อีกด้วย โดยบ้านที่สร้างจากฉนวนใยหินหรือไฟเบอร์กลาส จะมีความเย็นภายในเพราะวัสดุดังกล่าวเป็นฉนวนความร้อน จึงมีการนำความร้อนจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้านได้น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ อย่างไรก็ตามฉนวนความร้อนไม่ได้หยุดการถ่ายโอนความร้อนอย่างสิ้นเชิง เพียงแต่ทำให้การถ่ายโอนความร้อนเป็นไปได้ช้าลงเท่านั้น

2. การพาความร้อน (Convection)

ตัวอย่างของการพาความร้อนที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การถ่ายโอนความร้อนผ่านน้ำซึ่งต้มอยู่ในหม้อ ขณะที่น้ำเดือดเราจะเห็นได้ว่า มีการเคลื่อนที่ของน้ำในหม้อเกิดขึ้น นั่นคือการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อนซึ่งมีน้ำเป็นตัวกลาง


เมื่อเราให้ความร้อนแก่น้ำ น้ำที่อยู่ก้นหม้อจะได้รับความร้อน มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และเกิดการขยายตัว เนื่องจากอนุภาคของน้ำที่ได้รับความร้อนมีการเคลื่อนที่ ช่องว่างระหว่างโมเลกุลของน้ำจะเพิ่มขึ้น ขณะที่อนุภาคมีขนาดเท่าเดิม ทำให้น้ำบริเวณก้นหม้อมีความหนาแน่นน้อยลง ดังนั้น มันจึงลอยตัวสู่ผิวน้ำด้านบน ส่วนผิวน้ำด้านบนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าแต่ความหนาแน่นมากกว่าก็จะเคลื่อนลงมาอยู่ที่ก้นหม้อแทน เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะหยุดให้ความร้อนแก่น้ำ และการพาความร้อนในลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นกับก๊าซได้เช่นกัน เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่วางอยู่บนตะแกรงเหนือกองไฟ


เนื่องจากของเหลวและก๊าซถือว่าเป็นของไหล อนุภาคในของไหลสามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้น เมื่ออนุภาคของของเหลวหรือก๊าซได้รับพลังงานความร้อน มันจึงเคลื่อนที่ไปสู่ที่ที่มีพลังงานความร้อนน้อยกว่า เป็นการถ่ายโอนความร้อนในลักษณะของการพาความร้อนด้วยตัวกลางอย่างของเหลวและก๊าซนั่นเอง ทั้งนี้เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการพาความร้อนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างการสร้างช่องระบายอากาศภายในบ้าน เป็นต้น

 

3. การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)

วัตถุทุกชนิดมีการแผ่และดูดซับรังสีความร้อนหรือที่เรียกว่า "รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation, IR)" โดยรังสีอินฟราเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง จึงแตกต่างจากการนำความร้อนและการพาความร้อนที่ต้องอาศัยอนุภาคของตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อน

การแผ่รังสีความร้อนจะมีลักษณะการแผ่ออกไปในทุกทิศทุกทางรอบจุดกำเนิดหรือวัตถุ โดยวัตถุที่มีความร้อนมากกว่าจะแผ่รังสีได้มากกว่า เช่น ดวงอาทิตย์แผ่รังสีความร้อนได้มากกว่ากาแฟร้อนในแก้ว ส่วนความสามารถในการดูดซับความร้อนก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นกับลักษณะและสมบัติของวัตถุนั้น ๆ เช่น วัตถุสีเข้ม ด้าน จะสามารถแผ่และดูดซับความร้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีสีอ่อนและมันวาว หรือหากวัตถุสองชิ้นทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน วัตถุที่มีลักษณะแบนและบาง จะสามารถแผ่รังสีความร้อนได้เร็วกว่าวัตถุที่อ้วนหนา

คริสต์ศาสนา




สิ่งคล้ายศีลคือ
เป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ที่พระศาสนจักรตั้งขึ้น เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของชีวิตศักดิ์สิทธิ์ไปได้ สิ่งคล้ายศีลเหล่านี้ประกอบด้วยการภาวนา ตามด้วยเครื่องหมายกางเขนและเครื่องหมายอื่นๆ ในบรรดาสิ่งคล้ายศีลที่สำคัญ เช่น การอวยพรซึ่งเป็นการสรรเสริญพระเป็นเจ้า บทภาวนาเพื่อขอพระพรต่างๆ   การเจิมถวายบุคคลและการอุทิศสิ่งของเพื่อเป็นคารวกิจแด่พระเป็นเจ้า
พระบัญญัติ 10 ประการ
คือข้อกฏหมาย 10 ข้อที่พระเจ้าทรงโปรดประทานให้กับชนชาติอิสราเอลได้ปฏิบัติหลังจากได้อพยพออกจากแผ่นดินอียิปต์ พระบัญญัติ 10 ประการนี้ได้สรุปรวบรวมจากพระบัญญัติที่มีอยู่ในพระคำภีร์เดิมทั้งหมด 600 กว่าข้อ พระบัญญัติ 4 ข้อแรกได้พูดถึงการปฏิบัติและความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า และ 6 ข้อหลังได้พูดถึงการปฏิบัติและความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้อื่น

ข้อที่ 1 “อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา” บัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการนมัสการพระอื่นเพราะมีพระเจ้าที่แท้จริงเพียงองค์เดียวเท่านั้น นอกนั้นเป็นพระเจ้าเท็จ

ข้อที่ 2 “อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน เป็นรูปสิ่งใดที่อยู่ในฟ้าเบื้องบน หรือบนแผ่นดินเบื่องล่าง หรือในน้ำใต้แผ่นดิน อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น เพราะเราคือพระเจ้าของเจ้า เป็นพระเจ้าที่หวงแหน ให้โทษบิดาตกทอดไปถึงลูกหลานของผู้ที่ชังเราจนถึงสามชั่วสี่ชั่วอายุคน แต่เราแสดงความรักมั่นคงต่อคนที่รักเรา และปฏิบัติตามบัญญัติของเราจนถึงพันชั่วอายุคน” พระบัญญัติข้อนี้การต่อต้านการสร้างรูปเคารพ,การสร้างตัวแทนของพระเจ้าที่เรามองเห็นได้ ไม่มีสิ่งจำลองใดที่เราสามารถสร้างให้เหมือนกับพระเจ้าที่แท้จริงได้ การสร้างรูปเคารพเปรียบเสมือนกับการนมัสการพระเจ้าเท็จนั้นเอง

ข้อที่ 3 “อย่าออกพระนามพระเจ้าของเจ้าอย่างไม่สมควร เพราะผู้ที่ออกพระนามพระองค์อย่างไม่สมควรนั้นพระเจ้าจะทรงถือว่าไม่มีโทษก็หามิได้” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการกล่าวถึงพระนามของพระเจ้าอย่างไม่เหมาะสม เราแสดงถึงการเคารพต่อพระเจ้าโดยการกล่าวถึงพระองค์ด้วยความสุภาพและให้เกียรติพระองค์เสมอ

ข้อที่ 4 “จงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ จงทำการงานของเจ้าทั้งสิ้นหกวัน แต่วันที่เจ็ดนั้นเป็นสะบาโตของพระเจ้าของเจ้า ในวันนั้นอย่ากระทำการงานใดๆ ไม่ว่าเจ้าเอง หรือบุตรชาย บุตรหญิงของเจ้า หรือทาสทาสีของเจ้า หรือสัตว์ใช้งานของเจ้า หรือแขกที่อาศัยอยู่ในประตูเมืองของเจ้า เพราะในหกวันพระเจ้าทรงสร้างฟ้า และแผ่นดิน ทะเล และสรรพสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่เหล่านั้น แต่ในวันที่เจ็ดทรงพัก เพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงอวยพระพรวันสะบาโต และทรงตั้งวันนั้นไว้เป็นวันบริสุทธ์” พระบัญญัติข้อนี้ได้ตั้งไว้ให้วันสะบาโต (ซึ่งวันเสาร์นั้นถือเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์)เป็นวันที่เราได้อุทิศให้กับพระเจ้า

ข้อที่ 5 “จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า เพื่ออายุของเจ้าจะได้ยืนนานบนแผ่นดิน ซึ่งเจ้าของเจ้าประทานให้แก่เจ้า” พระบัญญัติข้อนี้สอนให้เราปฏิบัติต่อบิดามารดาของเราด้วยความเคารพและนับถือ

ข้อที่ 6 “อย่าฆ่าคน” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการฆ่าผู้อื่นด้วยการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าแล้ว

ข้อที่ 7 “อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกเหนือจากคู่สมรสของตัวเอง

ข้อที่ 8 “อย่าลักทรัพย์” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการเอาสิ่งของของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตัวเองโดยที่ไม่ได้ขออนุญาติจากเจ้าของก่อน

ข้อที่ 9 “อย่าเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการเป็นพยานเท็จต่อความผิดของผู้อื่น และเป็นข้อบัญญัติที่สำคัญมากในการที่เราควรต่อต้านการพูดเท็จต่างๆ

ข้อที่ 10 “อย่าโลภครัวเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภภรรยาของเพื่อนบ้านหรือทาสทาสีของเขา หรือโค ลา ของเขา หรือสิ่งใดๆซึ่งเป็นของของเพื่อนบ้าน” พระบัญญัติข้อนี้ได้ต่อต้านการอยากได้ของของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของเรา ความโลภสามารถนำเราไปสู่ความแตกแยก และการฆ่าคน, การล่วงประเวณี และการขโมย ถ้าการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นความผิด การคิดที่จะทำสิ่งนั้นก็เป็นความผิดเช่นกัน

วิชาภาษาจีน

เสียงพยัญชนะ 声母 ทั้ง 23 เสียงของภาษาจีน


พยัญชนะ วิธีการออกเสียง
 


p
m

f

d เตอ

tเทอ

nเนอ
lเลอ
gเกอ
kเคอ
hเฮอ
jจี
qชี

xซี

zจือ

cชือ

sซือ

zhจรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)

chชรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)

shซรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)

rยรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)

yยี
wอู

เสียงสระ 韵母 ทั้ง 36 เสียงของภาษาจีน

1.สระเดี่ยว มี 6 เสียง

สระเดี่ยว วิธีการออกเสียง
aอา
oโอ
eเออ
iอี
uอู
üอวี(อ่านเป็นเสียงเดียว)

2.สระผสม มี 30  เสียง

  • a) ai ao an ang
  • o) ou ong
  • e) er ei en eng
  • i) ia iao ie iu ian in iang ing iong
  • u) ua uo uai ui uan un uang ueng
  • ü) üe üan ün

วิธีการผสมเสียง(พยัญชนะ+สระ)


วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ + เสียงวรรณยุกต์(เรียนในบทต่อไป)
  1. พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว(พยัญชนะจะไฮไลท์สีชมพู) เช่น
  • P + a = Pa
  1. พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น
  • สระผสม 2 ตัว เช่น bai gei hao tou ฯลฯ
  • สระผสม 3 ตัว เช่น bang teng tong ฯลฯ
  • สระผสม 4 ตัว เช่น xiong liang lieng ฯลฯ

*ข้อควรระวัง*

แม่สะกดในภาษาจีนที่ต้องตามหลังเสียงสระ  ก็มีน้า! (อันนี้ไม่ต้องคิดมาก ใช้บ่อยๆเดี๋ยวก็เป็นเอง)
  • -n เหมือนแม่กนและกงในภาษาไทย
  • -ng  เหมือนแม่กง
  • r  มีไว้แสดงเสียงเอ้อ ต้องเอาปลายลิ้นงอขึ้นไปแตะที่เพดานปาก
  1. สระ u อู(อู) ไม่ใช้กับพยัญชนะ y, j, q, x
  2. สระ ü อวี
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ y, j, q, x จะต้องตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ออกไป เช่น ü –> yu üe –> yue
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ l, n จะละสองจุดไม่ได้ ไม่นั้นจะไปซ้ำกับเสียงu (อู) ทำให้เกิดการสับสนได้
  1. สระ er เช่น 兒 เมื่อทำหน้าที่เป็นสระต่อท้าย จะเขียนพินอินแค่ r เท่านั้น เช่น 一點兒 yīdiǎnr

วิชาการงาน

เฟีอง
คือล้อที่มีฟันเพื่อให้ประสานกับฟันของล้อตัวอื่นเป็นต้น
ตุ๊กตาการบูร
อุปกรณ์
  1. ♡ ถุงเท้า
  2. ♡ กรรไกร
  3. ♡ เชือก
  4. ♡ ลูกตาตุ๊กตา
  5. ♡ ปืนกาวร้อน
  6. ♡ ผงการบูรเเห้ง
  7. ♡ใยสังเคราะห์
  • วิธีการทำ
  •  ขั้นตอนเเรกกันเลยเริ่มตัดถุงเท้าบริเวณที่เป็นส้นเท้า ให้ตรง ตัดเเบกออกให้เป็นสองส่วนเพื่อที่จะไว้ทำหัว เเละ ทำเป็นหมวกของตุ๊กตา
  • ♡ พอตัดเสร็จเเล้วขั้นต่อไปเอาใยสังเคราะห์ยัดส่วนที่เป็นบริเวณเท้าของถุงเท้า ยัดให้เเน่นๆเยอะๆหน่อยเพื่อที่จำทำให้เป็นหัววงกลม จะได้ดูน่ารัก ถ้าเล็กไปหัวก็จะหลีบๆหน่อย 555
  • ♡ จากนั้นพอใส่ใยสังเคราะห์เรียบร้อยเเล้วนั้น ก็เทผงการบูร ลงไปในถุงเท้า ชอบกลิ่นมากกลิ่นน้อยก็ได้เลย ตามความชอบ เเล้วก็มัดในส่วนหัวของตุ๊กตา เเละเชือกที่ใช้มัดก็จะกะระยะไว้สำหรับทำเเปนเเขนของตุ๊กตา
  • ♡ จากนั้นก็เอาส่วนอีกส่วนที่ตัดของถุงเท้ามาทำใส่ทำเป็นหมวก สวมไปที่หัวของตุ๊กตา เเละก็ทำการใส่ลูกตาให้ตุ๊กตา โดยนำปืนกาวร้อนมาใส่ที่ตัวลูกตาเเล้วเเป๊ะไปที่หน้าของตุ๊กตา
  • ♡ จากนั้นก็นำเชือกมาทำเป็นส่วนของขาโดยใส่ไปในตัวเพื่อจะอยู่ข้างใน เเละ ใส่ที่ห้อย ทำเป็นพวงกุญเเจหรือจะเอาไปใส่ในตู้เสื้อผ้าไม่ให้มีกลิ่นอัพเวลาเปิดก็จะได้กลิ่นหอมของการบูร

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โรงเรียนดรุณาราชบุรี

  • มองให้ลึกๆ นอกจากความแข็งแรงของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และความยืดหยุ่นแล้ว กีฬายังให้อะไรต่อเด็กๆ อีกมากมาย
  • ความเป็นเพื่อน (Camaraderie)
  • เรียนรู้ที่จะแพ้ (Learn to Lose)
  • เคารพกฎกติกา (Respect Authority)
  • ควบคุมอารมณ์ (Control Emotions)
  • ความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-Esteem)
  • อดทน (Patience)
  • ทุ่มเท (Dedication)
15 มี.ค. 2561

บล็อกเพื่อนของผม

เมทาวี กันเกลา  loveaom40.blogspot.com ณัฐกิตติ์ สุรินทร์  nattakitblog.blogspot.com สิรภพ ตั้งวัฒนากูล  mos33819.blogspot.com ด...