วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

บล็อกเพื่อนของผม

เมทาวี กันเกลา loveaom40.blogspot.com
สิรภพ ตั้งวัฒนากูล mos33819.blogspot.com

ด.ญ.นฤมล ราชสิงห์โหbaitong4875.blogspot.com
สิรภพ ตั้งวัฒนากูลmos33819.blogspot.com
ทิพย์สุดา กล่อมสมร thipsuda-blogs.blogspot.com
ชนะวรรณ สวนมะลิchanawan-blog.blogspot.com
ชลลดา จันทร์แจ้งchonlada-blog.blogspot.com
ติณณ์ ศรีรุจิเมธากร
ณัฐชนนท์ ซิ้มเจริญvrzozaa21.blogspot.com
ตะวันฉาย พุ่มใบศรีhonza2548.blogspot.com
ณัฐศุภา ด้วงผลFern.natthansupa
ญาณิศา ปัญญาอิทธิกุลyanisa36421.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat.3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat3372
จักรภัทร คุ้มภัยjakkpat3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat.3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat3372.blogspot.com
ณัฐกิตติ์ สุรินทร์ nattakitblog.blogspot.com
รินรดา ยกกลิ่นrinradayokklin.blogspot.com
ธนภัทร ทองหนูsailom10219-blog.blogspot.com
จิดาภา ยิ้มย่องjhidapa-blog.blogspot.com
ธีรพัทร์ แย้มหัตถาstopptop-blog
เด็กหญิง ธนิดา เนื้อเกลี้ยงthanida841
จิราวรรณ ศรีคุณากร sj6854271.blogspot.com
คณิศร วังทองblog-ice

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

อังกฤษ

5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ

โครงสร้างที่ 1 : Subject + Verb (ประธาน + กริยา)

คำกริยาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) มารองรับ
2. สกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ

ในโครงสร้างที่ 1 มีเพียงประธานกับอกรรมกริยา (Intransitive verb) หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) ก็เป็นประโยคที่สมบูรณ์เข้าใจได้  เช่น

She works .
(เธอทำงาน)

He gets up.
(เขาตื่นนอน)

นอกจากนี้เราสามารถขยายความประโยคได้โดยเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น

She works hard.
(เธอทำงานหนัก)
hard = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย works

He gets up early.
(เขาตื่นแต่เช้า)
early = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย gets up


โครงสร้างที่ 2 : Subject + Verb + Object (ประธาน + กริยา + กรรม)

ในโครงสร้างที่ 2 จะใช้สกรรมกริยา (Transitive Verb) หรือกริยาที่ต้องการกรรม (Object) เช่น

I read a book.
(ฉันอ่านหนังสือ)

Mark kicks the ball.
(มาร์กเตะลูกบอล)

เราสามารถขยายความประโยคได้ด้วยการเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น

Mark kicks the yellow ball.
(มาร์กเตะลูกบอลสีเหลือง)
yellow = คำคุณศัพท์ (Adjective) มาขยาย ball  

I read a book every day.
(ฉันอ่านหนังสือทุกวัน)
every day = คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) ขยาย read เพื่อบอกความถี่ในการอ่าน


โครงสร้างที่ 3 : Subject + Verb + Indirect Object + Direct Object (ประธาน + กริยา + กรรมรอง + กรรมตรง)

กรรม (Object) หลัก ๆ ในภาษาอังกฤษมี 3 ชนิด คือ
1. Direct Object (กรรมตรง) คือ กรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง เช่น ในโครงสร้างที่ 2 จะเป็นกรรมตรง
2. Indirect Object (กรรมรอง) คือ กรรมที่ได้ผลประโยชน์จากการกระทำ
3. Prepositional object (กรรมของบุพบท) คือ กรรมที่ต่อท้ายบุพบท

My mother bought me a new toy.  
(แม่ของฉันซื้อของเล่นใหม่ให้ฉัน)
new toy เป็นกรรมตรง เพราะถูกซื้อโดยตรง และ me เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการซื้อ

Jack teaches us English.
(แจ็คสอนภาษาอังกฤษพวกเรา)
English เป็นกรรมตรงที่ถูกสอน และ us เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการสอน

He gave his girlfriend flowers.
(เขาให้ดอกไม้แก่แฟนของเขา)
flowers เป็นกรรมตรงที่ถูกให้ และ his girlfriend เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการให้

และในโครงสร้างที่ 3 นี้สามารถเขียนได้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมรองจะเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นกรรมของบุพบท (Prepositional object )โดยมักจะเป็น to หรือ for เช่น

My mother bought a new toy for me.
Jack teaches English for us
He gave flowers to his girlfriend.


โครงสร้างที่ 4 : Subject + Verb + Subjective Complement (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายประธาน)

Subjective Complement หรือ ส่วนขยายประธาน คือ กลุ่มคำที่ตามหลัง Verb to be หรือ Linking Verbโดยส่วนขยายประธานเป็นได้ทั้งคำนาม (Noun) และคำคุณศัพท์ (Adjective)

My brother is a doctor.
(พี่ชายของฉันเป็นหมอ)

There is a pen.
(มีปากกาหนึ่งด้าม)

James became an engineer.
(เจมส์กลายเป็นวิศวกร)

She looks exhausted after studying all night.
(เธอดูเหน็ดเหนื่อยหลังจากอ่านหนังสือทั้งคืน)

This price sounds reasonable.
(ราคานี้ฟังดูสมเหตุสมผล)

The coffee smells bitter in the coffee shop.
(กาแฟส่งกลิ่นขมอบอวลในร้านกาแฟ)


โครงสร้างที่ 5 : Subject + verb + Object + Objective Complement

Object Complement หรือส่วนขยายกรรม เป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์

She named the dog Ken.
(เธอตั้งชื่อหมาว่าเคน)
Ken เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย dog ที่ถูกตั้งชื่อ

They made me the president.
(พวกเขาแต่งตั้งฉันเป็นประธานบริษัท)
the president เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย me ที่ถูกแต่งตั้ง

สุขศึกษา-พละศึกษา


ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


เพิ่มพูนทักษะการเคลื่อนไหว


ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย
     การเคลื่อนไหวร่างกายมีลักษณะที่สำคัญ 3 รูปแบบ คือ
     1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (fundamental movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่จำเป็นสำหรับชีวิตและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
     2. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (daily movement) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ ทั่วไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิต
     3. การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง (special movement) เป็นการผสมผสานทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา

ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวร่างกาย
     1. ปัจจัยในด้านตัวบุคคล หมายถึง องค์ประกอบเฉพาะบุคคลที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โครงสร้างร่างกาย ทักษะในการเคลื่อนไหว รวมถึงปัจจัยทางจิตใจและสายตา
     2. ปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่ ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว ความสัมพันธ์ของฐานกับการเคลื่อนไหว และสภาพอุณหภูมิของอากาศในขณะที่มีการเคลื่อนไหว

รูปแบบและแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน
ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
     1. การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ (nonlocomotor movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ผู้ปฏิบัติมีการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ เช่น การก้มตัว การเหยียดตัว การผลัก การดัน การบิดตัว แต่ร่างกายไม่มีการเคลื่อนที่
     2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (locomotor movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ใช้การเคลื่อนร่างกายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง การสไลด์ (slide)


ท่าทางการเดินที่ถูกต้อง


     3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ (manipulative movement) หมายถึง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ผู้ปฏิบัติมีการบังคับหรือควบคุมวัตถุโดยใช้อวัยวะที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการใช้มือและเท้า เช่น การขว้าง การตี การเตะ การรับ  

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
     การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (exercise for health) คือการเคลื่อนไหวหรือการกระตุ้นให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากกว่าภาวะปกติอย่างเป็นระบบ ตามความเหมาะสมของเพศ วัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

รูปแบบของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
     1. การออกกำลังกายแบบการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่เคลื่อนไหวอวัยวะ (isometric exercise) เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
     2. การออกกำลังกายแบบต้านน้ำหนัก (isotonic exercise) โดยการเกร็งกล้ามเนื้อ พร้อมกับเคลื่อนไหวข้อต่อแขนหรือขาด้วย
     3. การออกกำลังกายแบบต้านความเร็วคงที่ (isokinetic exercise) โดยใช้เครื่องมือการออกกำลังกายที่ปรับความเร็วและแรงต้าน
     4. การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic exercise) โดยที่ร่างกายไม่ได้นำออกซิเจนมาใช้ในการสันดาปพลังงาน แต่จะใช้พลังงานสำรองที่อยู่ในกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
     5. การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนหรือแบบแอโรบิก (aerobic exercise) โดยกระทำกิจกรรมติดต่อกันเป็นเวลานาน จนพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานจากกระบวนการสันดาปออกซิเจนเพิ่มมากกว่าปกติ จนสามารถกระตุ้นให้ปอดและหัวใจทำงาน

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
     ยึดหลัก “4 พ” คือ บ่อยพอ หนักพอ นานพอ และพอใจ
     กิจกรรมนันทนาการ คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติด้วยความสมัครใจในเวลาว่าง โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และได้ความเพลิดเพลิน อาจปฏิบัติคนเดียวหรือปฏิบัติเป็นหมู่คณะ

กีฬาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
     กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย มีกติกาการเล่นที่ดัดแปลงมาจากกติกาของกีฬาแบดมินตันและวอลเลย์บอลผสมผสานกัน แต่จะใช้ศีรษะ ข้อศอก ไหล่ และเท้าในการเล่นตอบโต้กันไปมาระหว่างผู้เล่น 2 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะประกอบด้วยผู้เล่นทีมละ 3 คน โดยพยายามเล่นลูกตะกร้อไม่เกิน 3 ครั้ง ให้ข้ามตาข่ายตกลงบนพื้นสนามในแดนของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ลูกตะกร้อตกลงบนพื้นสนามในแดนของตนเอง


กีฬาตะกร้อ


กีฬาตะกร้อ


     กีฬาเทเบิลเทนนิส จัดเป็นกีฬาประเภทบุคคล มีทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะยืนทางด้านหัวโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เริ่มเล่นโดยผลัดกันส่งลูกด้วยการตีลูกให้ตกลงพื้นโต๊ะในแดนของตนเอง ก่อนที่ลูกจะข้ามตาข่ายซึ่งขึงแบ่งครึ่งโต๊ะให้ไปตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม แล้วฝ่ายตรงข้ามจึงตีลูกข้ามตาข่ายย้อนกลับมา สลับกันตีลูกข้ามตาข่ายกันไปมา จนกว่าจะมีฝ่ายหนึ่งทำลูกเสีย คือไม่สามารถตีลูกให้เป็นไปตามกฎกติกาที่กำหนดได้ ฝ่ายที่ไม่ได้ทำให้ลูกเสียจะได้คะแนน 1 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนถึง 11 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ


กีฬาเทเบิลเทนนิส


คำสำคัญ  ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย  การเคลื่อนไหวพื้นฐาน  การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน  การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง  ฐานรองรับ  การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่  การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่  แอโรบิก  การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ  ชีพจร  หลัก “4 พ”  กิจกรรมนันทนาการ  กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย  กีฬาเทเบิลเทนนิส

ดนตรี-นาฏศิลป์


เครื่องดนตรีไทย  เครื่องดนตรีไทยสามารถแบ่งได้เป็นตี  เป่า  ดีด และสี  ดังนี้
เครื่องตี  สามารถจำแนกได้ ๒ ลักษณะ  คือ
.   แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิต  คือ
-          ทำจากไม้  ได้แก่  ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  กรับ  เกราะ  โปงลาง ฯลฯ
-          ทำจากโลหะ  ได้แก่  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก  ฉิ่ง  ฉาบ  โหม่ง ฯลฯ
-          ขึงด้วยหนังสัตว์  ได้แก่  กลองชนิดต่าง ๆ
.  แบ่งตามหน้าที่ของการบรรเลง  คือ
-          เครื่องทำทำนอง  ได้แก่  ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  โปงลาง
-          เครื่องทำจังหวะ  ได้แก่  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  โหม่ง  กลองชนิดต่าง ๆ
เครื่องเป่า  แบ่งได้ ๒ ประเภท  คือ
.  เครื่องเป่าที่มีลิ้น  ได้แก่  ปี่ใน  ปี่กลาง  ปี่นอก  ปี่ชวา  ปี่มอญ  แคน ฯลฯ
.  เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น  ได้แก่  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยอู้  ขลุ่ยหลิบ  สังข์ ฯลฯ
เครื่องดีด  ได้แก่  กระจับปี่  จะเข้  พิณเพี้ยะ (เปี้ยะ)  พิณน้ำเต้า  ซึง ฯลฯ
เครื่องสี  ได้แก่  ซอสามสาย  ซอด้วง  ซออู้  สะล้อ  ซอบั้งหรือซอกระบอก ฯลฯ 
วงดนตรีไทย  สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
.    วงเครื่องสาย  เป็นวงที่มีเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลัก
.๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (เครื่องสายวงเล็ก)  มีเครื่องดนตรี คือ จะเข้  ซอด้วง  ซออู้  ขลุ่ยเพียงออ  ฉิ่ง  โทน  รำมะนา
.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่  มีเครื่องดนตรี คือ จะเข้ ๒ ตัว  ซอด้วง ๒ คัน  ซออู้ ๒ คัน  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยหลิบ  ฉิ่ง  โทน  รำมะนา
.๓ วงเครื่องสายผสม  มีเครื่องดนตรีเหมือนกับวงเครื่องสายวงเล็ก หรือเครื่องคู่ แต่จะนำเครื่องดนตรีอื่นมาบรรเลงร่วม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่าวงเครื่องสายผสมขิม หรือนำออร์แกนมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่าวงเครื่องสายผสมออร์แกน เป็นต้น
.    วงปี่พาทย์  เป็นวงที่มีเครื่องเป่าและเครื่องเป็นหลัก
         .๑ วงปี่พาทย์เครื่องห้า  มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน  ระนาดเอกไม้ (มีในสมัยอยุธยา)  ฆ้องวงใหญ่  ฉิ่ง  ตะโพน  กลองทัด
         .๒ วงปี่พาทย์เครื่องคู่  มีเครื่องดนตรี คือ   ปี่ใน  ปี่นอก  ระนาดเอกไม้  ระนาดทุ้มไม้  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็กตะโพน  กลองทัด
         .๓ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่  มีเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน  ปี่นอก  ระนาดเอกไม้  ระนาดทุ้มไม้  ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ตะโพน  กลองทัด
         .๔ วงปี่พาทย์เสภา  มีเครื่องดนตรี  คือ ปี่ใน  ระนาดเอกไม้  ระนาดทุ้มไม้  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ฉิ่ง  กลองสองหน้า 
         .๕ วงปี่พาทย์ไม้นวม  มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้ (ตีด้วยไม้นวม)  ระนาดทุ้มไม้  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ขลุ่ยเพียงออ  ซออู้  ฉิ่ง  กลองแขก
         .๖ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  มีเครื่องดนตรี คือ  ระนาดเอกไม้ (ตีด้วยไม้นวม)  ระนาดทุ้มไม้  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฆ้องวงใหญ่  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยอู้  ซออู้  ฉิ่ง  ตะโพน  กลองทัด  ฆ้องหุ่ย (มี ๗ ใบ)
         .๗ วงปี่พาทย์นางหงส์  มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้  ระนาดทุ้มไม้  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ปี่ชวา  ฉิ่ง  กลองมลายู  ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
.    วงมโหรี  เป็นวงที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท
         .๑ วงมโหรีเครื่องเดี่ยว (วงมโหรีวงเล็ก)  มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี (มีขนาดเล็กกว่าระนาดเอกปี่พาทย์)  ฆ้องกลาง  จะเข้  ซอสามสาย  ซอด้วง  ซออู้  ขลุ่ยเพียงออ  ฉิ่ง  โทน  รำมะนา
         .๒ วงมโหรีเครื่องคู่  มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี  ระนาดทุ้มไม้มโหรี  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  จะเข้ ๒ ตัว  ซอสามสาย  ซอสามสายหลิบ  ซอด้วง ๒ คัน  ซออู้ ๒ คัน  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยหลิบ  ฉิ่ง  โทน  รำมะนา
         .๓ วงมโหรีเครื่องใหญ่  มีเครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกไม้มโหรี  ระนาดทุ้มไม้มโหรี  ระนาดเอกเหล็กมโหรี  ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  จะเข้ ๒ ตัว  ซอสามสาย  ซอสามสายหลิบ  ซอด้วง ๒ คัน  ซออู้ ๒ คัน  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยหลิบ  ฉิ่ง  โทน  รำมะนา
จังหวะ  แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
.    จังหวะสามัญ  ใช้ชีพจรกำหนด ใช้เท้าเคาะหรือมือเคาะเอา
.    จังหวะฉิ่ง  ใช้ฉิ่งตีกำกับ บางเพลงก็ตีเสียง ฉิ่ง-ฉับ  บางเพลงก็ตี ฉิ่ง ฉิ่ง ฉับ  บางเพลงก็ตี
ฉิ่ง ฉิ่ง ฉิ่ง หรือ ฉับ ฉับ ฉับ ไปเรื่อย ๆ ต้องสังเกตและจดจำเอา
.    จังหวะหน้าทับ  ซึ่งจะใช้เครื่องหนัง (โทนทับตะโพนกลองแขก ฯลฯเข้ามาตีประกอบจังหวะฉิ่ง (ฉาบ กรับ โหม่งซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่ หน้าทับสองไม้ หน้าทับปรบไก่ และหน้าทับพิเศษ เพลงใดจะใช้หน้าทับใดคีตกวีจะเป็นผู้พิจารณากำห

ภาษาไทย


การอ่านบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์ยานี 11
เรื่อง ไพเราะเพราะขับขาน


     เครื่องหมายกำกับจังหวะในการอ่านบทร้อยกรอง

     เครื่องหมายขีดทับหนึ่งขีด ( / ) ใช้กำกับจังหวะหยุดเสียงอ่านภายในวรรค
     เครื่องหมายขีดทับสองขีด ( // ) ใช้กำกับจังหวะหยุดเสียงอ่านเมื่อจบวรรคเป็นช่วงยาวกว่าจังหวะเสริม


     การอ่านกาพย์ยานี 11

     การอ่านกาพย์ยานี 11 มีจังหวะการอ่านวรรคละ 2 จังหวะ คือ วรรคหน้า 5 คำ อ่าน 2 / 3 // วรรคหลัง 6 คำ
อ่าน 3 / 3 // เช่น


               เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//      ทิพากร/จะตกต่ำ//
     สนธยา/จะใกล้ค่ำ//                      คำนึงหน้า/เจ้าตาตรู//
     เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง//              นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
     ตัวเดียว/มาพลัดคู่//                     เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//
                                                     กาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง ทั้งอ่านเสียงปกติและอ่านเป็นทำนองเสนาะ มีหลักการดังนี้
อ่านออกเสียงคำให้ชัดเจนและถูกต้องตามอักขรวิธี
อ่านให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองนั้น
การอ่านออกเสียงทำนองเสนาะต้องรู้จักทอดจังหวะ เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง มีเสียงสูงต่ำตามลักษณะของบทร้อยกรองแต่ละชนิด
อ่านด้วยน้ำเสียงชัดเจน นุ่มนวลน่าฟัง เสียงไม่ค่อยหรือดังเกินไป
อ่านออกเสียงสื่ออารมณ์ไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ร่าเริง เศร้า โกธร เป็นต้น
 คำนาม หมายถึง คำพื้นฐานสามัญที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ อาการ สถานที่ จัดเป็นคำชนิดแรกในภาษาไทย 
 ๑. คำนามสามัญ  คือ คำนามทั่วไป
 เช่น
                   นักเรียนเขียนหนังสือ
                   หมากัดแมว
                   ปากกา  ดินสอ  อยู่ในกล่อง
               ๒. คำนามวิสามัญ  คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ  เช่น
                   ซันป๋อกำลังเขียนรายงาน
                   ก้องไปเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดตอนปิดเทอม
               ๓.  ลักษณนาม  คือ คำนามที่ประกอบกับคำนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือ ปริมาณของนั้น เช่น
                   ยักษ์  ๓  ตน                ขลุ่ย ๑ เลา               พระภิกษุ  ๑  รูป
                   พระพุทธรูป  ๒  องค์       ดินสอ  ๓  แท่ง           เงิน  ๕  บาท
               ๔.  สมุหนาม คือ  คำนามที่แสดงหมวดหมู่  เช่น
                   ฝูงนกพิราบบินกลับรัง
                   โขลงช้างเดินเข้าป่า
                   คณะนักร้องหมอลำเดินทางไปจังหวัดเลย
               ๕.  อาการนาม  คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ที่มีคำว่า การ  และ  ความ  นำหน้า  เช่น
                   ความรักทำให้คนตาบอด
                   การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง

สังคมศึกษา

เศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต


โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้ 
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


ศาล

  1. ศาลชั้นต้น – จะถูกแบ่งออกเป็นศาลประเภทต่างๆ ดังนี้
  • ศาลแพ่ง มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งทั้งหมดและคดีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ
  • ศาลอาญา มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ศาลจังหวัด ประจำอยู่ในแต่ละจังหวัดหรือบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาคดีทั้งแพ่งและอาญาที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นอื่นๆ กรณียื่นฟ้องคดีกับศาลจังหวัดแต่คดีเกิดขึ้นในพื้นที่ศาลแขวงและยังอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดต้องโอนหน้าที่ไปให้ศาลแขวงดังกล่าว
  • ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จะแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไป
  • ศาลแรงงานกลาง มีอำนาจในการพิจารณาคดีแรงงานที่จะแตกต่างไปจากคดีทั่วๆ ไป ส่วนมาใช้วิธีในการไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก
  1. ศาลอุทธรณ์ – เป็นศาลสูงสุดที่อยู่ถัดมาจากศาลชั้นต้นจะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับคดีที่มีการอุทธรณ์จากคำพิพากษาหรือจากอำนาจของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ รวมถึงมีอำนาจในการวินิจฉัยคดีที่ศาลอุทธรณ์มีคำอำนาจให้ทำการวินิจฉัยได้จากกฎหมายอื่นในช่วงของเขตพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค ยกเว้นคดีที่อยู่นอกเหนือจากเขตศาลอุทธรณ์จะทำการอุทธรณ์ต่อศาลก็ได้ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ในดุลยพินิจของศาลเพื่อทำการรับอุทธรณ์ในคดีต่างๆ
ศาลฎีกา – เป็นศาลชั้นสูงสุดที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อพิพากษา ตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องของการฎีกา นอกจากนี้ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจในการวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน แต่ก็มีในบางกรณีที่อาจต้องใช้มากกว่านั้นหากว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งศาลฎีกายังมีการแยกออกเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อใช้สำหรับพิจารณาคดีที่มีนักการเมืองเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ถือว่าเป็นการตัดสินที่ถูกแยกออกไปอย่างชัดเจน

คอมพิวเตอร์

  1. ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น          

       2.สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้คำตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.การรับรู้ข้อมูลทางตา ได้แก่ การมองเห็น เช่น ข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น

2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น

3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น

4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น

5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม  เป็นต้น
ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น  เช่น 145 2468  เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลขและอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบจะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพดารา ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น
ข้อมูลมีประโยชน์มากมายดังนี้
1. ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้  เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม

2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้

3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่นในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

บล็อกเพื่อนของผม

เมทาวี กันเกลา  loveaom40.blogspot.com ณัฐกิตติ์ สุรินทร์  nattakitblog.blogspot.com สิรภพ ตั้งวัฒนากูล  mos33819.blogspot.com ด...